ข้อมูลพื้นฐานของโรงพยาบาล (Hospital Mini-Profile)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช
1. ข้อมูลพื้นฐาน
1.1 ข้อมูลโรงพยาบาล
ชื่อโรงพยาบาล:โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11
Health Promotion Hospital, Regional Health Promotion Center 11
ที่อยู่: 99 หมู่ 2 ต.บางจาก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80330
โทรศัพท์ : 075-399460-1 โทรสาร : 075-399124
E-mail address chainarong_54@yahoo.com
แผนที่แสดงที่ตั้งของโรงพยาบาล
1.2เจ้าของ/ต้นสังกัด
โรงพยาบาลรัฐบาล สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
1.3ลักษณะบริการ
จำนวนเตียงผู้ป่วยใน (ไม่รวมเตียงทารกคลอดปกติ)
จำนวนเตียงตามกรอบ/จำนวนที่ขออนุญาต 30 เตียง
จำนวนเตียงที่เปิดให้บริการจริง (ไม่รวมเตียงเสริม) 36 เตียง
อัตราการครองเตียง ปี2561 58.43%
อัตราการครองเตียง ปี2562 56.32%
ระดับของการให้บริการ
โรงพยาบาล ระดับ F2
และสนับสนุนเครือข่ายบริการปฐมภูมิ7รพสต. 5 หน่วยย่อย
1.4ผู้ประสานงาน
ชื่อ ดร.ชัยณรงค์ แก้วจำนงค์ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ โทรศัพท์ :083-2348889
โทรศัพท์ 075-399460-1 ต่อ 206 โทรสาร 075-399124
E-mail address chainarong_54@yahoo.com
1.5โครงสร้างองค์กรของโรงพยาบาล
โครงสร้างงานพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 |
2.บริบทขององค์กร
ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร
2.1ขอบเขตของการให้บริการ
รพ.ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11ระดับ F2 ดำเนินงานภายใต้สังกัดกรมอนามัยและเป็นหน่วยบริการคู่สัญญาหลักของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ รับผิดชอบการให้บริการประชาชน บริหารจัดการเครือข่าย 2 รพสต.ในเขตอำเภอเมือง และ5 รพสต.ในเขตอำเภอปากพนังในพื้นที่ 4 ตำบล มีบทบาทหน้าที่ด้านบริการรักษา ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพ โดยมุ่งเน้นภารกิจด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาบริบทแวดล้อมที่มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
ความเชี่ยวชาญพิเศษขององค์กร
- พัฒนา/สร้างความเข้มแข็งให้ภาคีเครือข่าย
- พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังครบวงจร สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ
- งานด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม
- ศูนย์ฝึกอบรมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ห่วงอนามัยและยาฝังคุมกำเนิด
เขตบริการสุขภาพที่ 11
- ศูนย์ฝึกแพทย์เฉพาะทางด้านเด็ก เขตบริการสุขภาพที่ 11
บริการ/กลุ่มผู้ป่วยสำคัญที่ต้องส่งต่อหรือจัดบริการความร่วมมือ
- ให้บริการงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวครบวงจร
- บริการด้านระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังครบวงจร จากโรงพยาบาลสู่ชุมชน ร่วมกับภาคีเครือข่าย
2.2 ประชากรในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
พื้นที่ให้บริการ รับผิดชอบพื้นที่ 7 รพ.สต.คือ
– เขตตำบลบางจาก อ.เมือง2 แห่ง ได้แก่รพ.สต.บ้านบางจาก รพ.สต.บ้านบางใหญ่
– เขตตำบลคลองน้อย อ.ปากพนัง 2 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.บ้านแสงวิมาน รพ.สต.บ้านเปี๊ยะเนิน
– เขตตำบลชะเมา อ.ปากพนัง 2แห่ง ได้แก่ รพ.สต.บ้านวัดลาว รพ.สต.บ้านบางมูลนาก
– เขตตำบลเกาะทวด อ.ปากพนัง 1 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.บ้านบางบูชา
ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล 2 แห่ง
เทศบาลตำบล 3 แห่ง
ประชากรมีสิทธิ 2562
ประชากรณ์ทุกสิทธิ์ = 31,803 คน
UC = 24,196 คน
เบิกได้/ อบท = 2,564 คน
ประกันสังคม = 4,920 คน
อื่นๆ = 180 คน
สิทธิ UC 2562
ชาย 11,699 คน หญิง 11,384 คน
สิทธิเบิกได้
ชาย 1126 คน หญิง 1435 คน
สิทธิประกันสังคม
ชาย 2,101คน หญิง 2,819คน
สิทธิ UC ปี2563
ชาย 11,758คน หญิง 11,381คน
จำนวนโรงเรียนทั้งหมด 35 แห่ง ศูนย์เด็กเล็กทั้งหมด 9 แห่ง และวัด 21 แห่ง
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพหลักด้านการเกษตร คือ ทำนา ทำสวน และอาชีพประมง ส่วนหนึ่งประกอบอาชีพรับจ้าง
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แยกเป็น ชาย 14,500คน หญิง 14,500คน
ประชากรจำแนกตามตำบล คือ
– ต.บางจาก อ.เมือง ชาย 4,470คน หญิง 4,532รวม 9,002คน
– ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง ชาย 5,616คน หญิง 5,610รวม 11,226คน
– ต.ชะเมา อ.ปากพนัง ชาย 1,803คน หญิง 1,769รวม 3,572คน
– ต.เกาะทวด อ.ปากพนัง ชาย 2,611คน หญิง 2,589รวม 5,200คน
ข้อมูลด้านสิทธิด้านการรักษาพยาบาลของประชากรในเขตพื้นที่บริการของศูนย์อนามัยที่ 11 เป็นกลุ่มเป้าหมายตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวน 24,196 คน คิดเป็นร้อยละ 76.08 ของประชากรในพื้นที่
ข้อมูลสรุปผู้มารับบริการผู้ป่วยนอก ในปีงบประมาณ 2562
- หลักประกันสุขภาพ 53,635ครั้ง 14,531 คน
- สิทธิ์ประกันสังคม 3,900ครั้ง 1,438 คน
- ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 12,896 ครั้ง 4,331 คน
- อื่นๆ ต่างด้าว 942 ครั้ง 606 คน
2.3ลักษณะโดยรวมของบุคลากร
จำนวนบุคลากรจำแนกตามสาขาวิชาชีพที่สำคัญ
สัดส่วนภาระงานกับจำนวนบุคลากร (หรือชั่วโมงการทำงาน)
ผป.นอก/ ชม.แพทย์ ปีงบประมาณ 2560 คือ
ปีงบประมาณ 2561 คือ
ปีงบประมาณ 2562 คือ
(แพทย์ปฏิบัติงาน OPD/LR/ER 3 คน )
ปี 2560 2,142 คน 9,381 ครั้ง
ปี 2561 1,979 คน 7,678ครั้ง
ปี 2562 2,105 คน 7,401 ครั้ง
สัดส่วนผู้ป่วยใน / แพทย์ 1 คน
ปีงบประมาณ 2560 :
ปีงบประมาณ 2561 :
ปีงบประมาณ 2562 :
2.4 อาคารสถานที่เทคโนโลยี และอุปกรณ์
- สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ
(2) เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่สำคัญ
เครื่องมือ / อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญ
เทคโนโลยีที่สำคัญ
ค.ความท้าทายขององค์กร
2.9ความท้าทายที่สำคัญ
(1) โรคที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่
ผู้ป่วยนอก
ผู้ป่วยใน
สรุปสถานการณ์ย้อนหลัง 3 ปี พบว่าประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่มีปัญหาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และพบอัตราการนอนโรงพยาบาลด้วยโรค Diarrhea
(2) โรคที่เป็นโอกาสพัฒนา หรือมีข้อจำกัดในการให้บริการ
กลุ่มโรคสำคัญที่เป็นโอกาสพัฒนา คือโรคเรื้อรัง ได้แก่DM HT เป็นกลุ่มโรค Metabolic Syndrome ที่ต้องอาศัย การคัดกรองความเสี่ยงตามาตรฐานแบบรอบด้านในทุกกลุ่มวัย ตั้งแต่การคัดกรองภาวะโภชนาการในวัยเด็ก วัยเรียน วัยทำงาน รวมถึงการจัดทำมาตรฐานการคัดกรองในผู้ที่ป่วยด้วยโรค Metabolic Syndrome แล้ว เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่จะเกิดขึ้น นอกจากนั้น การจัดการพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมโดยมีแนวคิดให้บุคคลให้รับผิดชอบพฤติกรรมสุขภาพตนเอง สามารถประเมินพฤติกรรมสุขภาพตนเองได้ ผ่านบัตรคำในเรื่อง พฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการออกแรงให้ได้เหงื่อ พฤติกรรมด้านการจัดการด้านอารมณ์ และสนับสนุนให้มี อาสาสมัครสาธารณสุขประจำครอบครัว (หมอครอบครัว) เข้าไปเสริมพลังให้กำลังใจผ่านการเยี่ยม ยกย่อง เป็นตัวอย่างแก่บุคลในชุมชน และเชื่อมโยงสื่อแนวคิดไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อร่วมรับผิดชอบต่อสุขภาพประชาชนในพื้นที่ของตนเอง อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
(3) เหตุการณ์ที่มีผลต่อการพัฒนา / การเปลี่ยนแปลงนโยบาย
- นโยบายในการพัฒนาสุขภาพของภาครัฐ ผ่านพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มุ่งเน้นให้เอื้อเฟื้อแบ่งปัน อยู่ร่วมกันในสังคมอยู่เย็นเป็นสุขมีส่วนร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และหน่วยวิชาการ ในการจัดการเพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นสุข
- กรมอนามัย มีภารกิจสำคัญ ด้านระบบส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อคนไทยสุขภาพดี เพื่อให้ประชาชน และชุมชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองและเฝ้าระวัง รวมทั้งจัดการปัจจัยกำหนดสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขด้วยความมั่นใจ และผู้ให้บริการมีความสุข โดยส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน ประชาชนมั่นใจ และผู้ให้บริการมีความสุขและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนให้เข้าใจสิทธิและ หน้าที่ในระบบหลักประกันสุขภาพ บริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ
- นโยบายการพัฒนาการเข้าถึงระบบการสื่อสารสนเทศ รวมถึงพัฒนาให้ภาคประชาชนสามารถเข้าถึงและมีเครื่องมือเข้าถึงในกาสื่อสารด้านสุขภาพ เพื่อสื่อสารภาวะสุขภาพของ บุคคล ครอบครัว และชุมชน แก่ละกัน และปรึกษาปัญหาสุขภาพกับวิชาชีพสุขภาพในสาขาต่างๆ
(4) ปัญหาสำคัญที่โรงพยาบาลกำลังพยายามแก้ไข
ปัญหาสุขภาพที่ดำเนินการพัฒนา คือ การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีการดำเนินงานทั้งในส่วนโรงพยาบาล และชุมชน ได้แก่ การเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเรื้อรัง
ในปี 2552 เพิ่มหน่วยบริการรักษา จาก 7 รพสต. ขยายเพิ่มหน่วยย่อยรักษาอีก 5 หน่วยย่อย
ในปี 2553-2554 พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยเรื้อรังผ่านแกนนำผู้สูงอายุ
ในปี2555 พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยเรื้องรังผ่านชมรม
ในปี 2556 พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังให้แกนนำครอบครัวและชุมชน ส่งข้อมูล สื่อสาร ให้คำปรึกษาผ่านเครื่องมือการสื่อสาร Smart phone ทั้ง 45 หมู่บ้าน
ในปี 2557 พัฒนาระบบการดูแลผ่านหมอครอบครัว โดย ในคลินิกบริการผู้ป่วยเรื้อรังและตึกผู้ป่วยใน
จัดทำมาตรฐาน การคัดกรองด้านการรักษา พฤติกรรมสุขภาพ ผ่านบัตรคำ เชื่อมโยงการดูแลจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนอีกทั้งในคลินิกส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยต่างๆ ได้จัดทำมาตรฐานการส่งเสริมสุขภาพ ต่างๆ ผ่านแกนนำในปีโดยยึดแนวทางการทำงานปี 2556 (ผ่านเครื่องมือการสื่อสาร Smart phone) มุ่งเน้นให้หมอครอบครัวมีทักษะด้านการคัดกรอง เยี่ยมติดตาม ประเมินอาการ รายงาน ให้คำปรึกษาโดยแพทย์ พยาบาล นักกายภาพแบบ Real-Time
(5) ความท้าทายเชิงกลยุทธ์อื่นๆ ขององค์กร
พัฒนากระบวนการบริหารจัดการ
- พัฒนาคลินิกบริการ
- การสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง จัดการความรู้
- การบริหารจัดการข้อมูลและสารสนเทศ
- พัฒนาสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการความเสี่ยง
- นวัตกรรมทุกกลุ่มวัย
2.10การพัฒนาคุณภาพและการเรียนรู้
(3) ผลงานเด่นและความภาคภูมิใจของโรงพยาบาล
- การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการแปรงฟันนักเรียนที่บ้านโดย อสม.
- CQIเสริมพลังรพ.สต.สู่มาตรฐานงานแม่และเด็ก 7 รพ.สต.ในเขตบริการ ศอ.11
- การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(หมอครอบครัว)
- การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน ผ่าน Group Line
( หมอครอบครัว ) - โครงการ หมู่บ้านดีเด่น อสม.ร่วมใจสตรีปลอดภัยจากมะเร็งปากมดลูก
- จาก… การให้คำแนะนำสำหรับผู้มาศึกษาดูงานคลินิก สู่….การเป็นวิทยากรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
3. ทิศทางขององค์กร
3.1ทิศทางองค์กร
(1) วิสัยทัศน์
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ชั้นนำด้านส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมในเขตสุขภาพที่ 11
(2) พันธกิจ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 มีพันธกิจ ดังนี้
- ให้บริการประชาชนในระดับF2 เน้นการส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย เพื่อให้
ประชาชนมีสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว
- พัฒนารูปแบบการบริการและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน
- ประเมิน/ รับรอง คลินิกส่งเสริมสุขภาพของโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 11
คำอธิบาย :
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ : มีคลินิกส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย
รพ. ชั้นนำ :ประเมิน / รับรอง คลินิกส่งเสริมสุขภาพ รพ. ในเขตสุขภาพที่ 11
อนามัยสิ่งแวดล้อม : บริหารจัดการปัจจัยเอื้อ
– กายภาพอาหาร อากาศ น้ำ อาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมที่ป้องกัน อุบัติเหตุ
-ทางสังคม คือ ค่านิยม และการสื่อสาร
(3) ค่านิยม
3.1 ค่านิยมหลักของศูนย์อนามัยที่ 11 คือ “เก่ง ดี มีสุข”
คำจำกัดความ
เก่ง ดี มีสุข. คือความคาดหวัง ด้านสมรรถนะบุคคลากรที่พึงประสงค์ขององค์กร. เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาบุคคลากร. และค่าตอบแทนและขวัญกำลังใจ แก่บุคคลากร. ประกอบด้วย
- เก่ง. หมายถึง คนเก่ง.มีสมรรถนะดี โดยใช้หลักการมุ่งผลสัมฤทธิ์. ดังนี้
- ผลงานตามปริมาณงาน P4P. (50คะแนน)
- มีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ ( 5 คะแนน)
- มีทักษะในการบริหารจัดการองค์ความรู้จากการปฏิบัติ ( 5คะแนน)
- มีทักษะในการบันทึกข้อมูล สืบค้นข้อมูล เผยแพร่ข้อมูล ( 5 คะแนน)
- มีทักษะในการเฝ้าระวังความเสี่ยง (5คะแนน)
- มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ( 10คะแนน)
- มีการตรงต่อเวลา ( 5 คะแนน)
- รับทราบเรื่องแจ้ง/สรุปรายงานการประชุมทันเวลาในระบบline (5 คะแนน)
- ดี. หมายถึง คนดี. มีจิตสาธารณะ โดยใช้หลักการมีปฏิสัมพันธ์. และการมีส่วนร่วมประกอบด้วย
- เข้าร่วมประชุมฝ่าย/เข้าร่วมกิจกรรมของฝ่าย ( 10 คะแนน)
3. สุข. หมายถึงคนที่มีความสุข คือสถานภาพบุคคล ที่ปรากฏ.
ที่เกิดจากผลรวมของ ความเก่ง และ การเป็นคนดี.
ระดับสมรรถนะ บุคคลากร. จำแนกดังนี้
A สูงกว่าค่าเฉลี่ย 80-90 90-100
B เท่ากับค่าเฉลี่ย 70-79.99
C ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย น้อยกว่า 7
3.2 ค่านิยมที่หน่วยงานยึดถือในการพัฒนาองค์กร คือ“สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ปลอดภัย”
- สะดวก คือ คลินิกส่งเสริมสุขภาพให้บริการผู้ป่วยไม่จำกัดเวลา ,ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น ,สถานที่รับบริการที่ไหนก็ได้ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
- รวดเร็ว คือ ลดขั้นตอนการบริการในทุกคลินิก,เพิ่มประสิทธิภาพในการ Screening , เพิ่มการใช้เทคโนโลยี,ขยายหน่วยบริการเพื่อเพิ่มความเข้าถึง ลดแออัดและขยายเวลาในการให้บริการ
- ถูกต้อง คือ ปฏิบัติตามคู่มือ/มาตรฐานในการปฏิบัติงาน
- ปลอดภัย คือ ให้ความสำคัญกับการบันทึกเวชระเบียนที่ครบถ้วน ถูกต้องและสามารถตรวจสอบได้
3.2 วัตถุประสงค์และจุดเน้น
(1) แผนกลยุทธ์ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการหลัก และตัวชี้วัด
การแต่งตั้งคณะกรรรมการทำดำเนินการขับเคลื่อน
คณะกรรมการ | บทบาทหน้าที่ | ตัวชี้วัด |
1.พัฒนาคุณภาพบริการ | – ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาคุณภาพบริการตามภารกิจของกลุ่มงานให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด – รายงานความก้าวหน้า รวบรวม ติดตาม ประเมินผล และเผยแพร่นวัตกรรมการให้บริการ แก่ภาคีเครือข่าย | 1.การมีส่วนร่วม คะแนนเต็ม 40 คะแนน – เข้าร่วมประชุม (20 คะแนน) – รายงานสถานการณ์ (20 คะแนน) 2.ผลงานคะแนนเต็ม 60 คะแนน – FlowChart (20 คะแนน) -เรื่องราวดี กระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการในโปรแกรม Line DBM (40 คะแนน) |
คณะกรรมการ | บทบาทหน้าที่ | ตัวชี้วัด |
2.สถานีสุขภาพ | – พัฒนาระบบการจัดการความรู้จากการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง – เฝ้าระวัง รวบรวม สืบค้น และเผยแพร่องค์ความรู้แก่ภาคีเครือข่าย | 1.การมีส่วนร่วม คะแนนเต็ม 40 คะแนน – เข้าร่วมประชุม (20 คะแนน) – รายงานสถานการณ์ (20 คะแนน) 2. ผลงานคะแนนเต็ม 60 คะแนน – เรื่องเล่าสิ่งดี ๆ ห้องที่ ( 20 คะแนน) – Line DBM (40 คะแนน) |
3.ข้อมูลและสารสนเทศ | – พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง – ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด | 1.การมีส่วนร่วม คะแนนเต็ม 40 คะแนน 2. ผลงานคะแนนเต็ม 60 คะแนน |
4.ศูนย์น่าอยู่ผู้คนน่ารัก | – สร้างปัจจัยเอื้อเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับภารกิจ – พัฒนาสภาพแวดล้อมและบริหารจัดการ ขับเคลื่อนนโยบาย กำกับ ดูแล ระบบงาน ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม CLEAN & GREEN , HWP , HAS – ประเมินผลและรายงานความก้าวหน้าทุกเดือน | 1.การมีส่วนร่วม คะแนนเต็ม 20คะแนน2. รายงานสถานการณ์ (60คะแนน) 3.ข้อร้องเรียน ( 20 คะแนน) |
5.นวัตกรรมทุกกลุ่มวัย | – จัดทำมาตรฐานกลางการส่งเสริมสุขภาพ ตามกลุ่มวัย เพื่อเป็นเครื่องมือในเฝ้าระวังและการเรียนรู้สู่ความสำเร็จ – พัฒนากระบวนการตลาด เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการดูแลเด็กครบวงจร – รวบรวมองค์ความรู้ใหม่และองค์ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติที่สำเร็จ ด้านการดูแลเด็กครบวงจร ทั้งภายในองค์กรและภาคีเครือข่าย เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้น | – |
(2) เข็มมุ่ง
1.พัฒนาเป็นองค์กรชั้นนำด้านส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย
- แหล่งศึกษาดูงาน
- วิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น
- ประเมิน / รับรองที่มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
2.บุคลากร “เก่ง ดี มีสุข” คือพัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้อยู่ในระดับ Good มากยิ่งขึ้น
3.การให้บริการคลินิกสุขภาพที่ “ สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ปลอดภัย ”
*********************************************