1 | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ไทยบุรี | ท่าศาลา | นครศรีธรรมราช | 60 | 1. แกนนำนักศึกษามหาวิทยาลัย หลังได้รับการอบรม มีความตั้งใจที่จะตรวจคัดกรองมะเร็งเ ต้านมด้วยตนเอง โดยตั้งใจที่จะตรวจทุก 1 เดือน
2. แกนนำนักศึกษามหาวิทยาลัย มีความรอบรู้การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองมากกว่าร้อยละ 90
|
2 | มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (รูปแบบออนไลน์) | ท่างิ้ว | เมืองนครศรีธรรมราช | นครศรีธรรมราช | 150 | 1. แกนนำนักศึกษามหาวิทยาลัย หลังได้รับการอบรม มีความตั้งใจที่จะตรวจคัดกรองมะเร็งเ ต้านมด้วยตนเอง โดยตั้งใจที่จะตรวจทุก 1 เดือน
2. แกนนำนักศึกษามหาวิทยาลัย มีความรอบรู้การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองมากกว่าร้อยละ 90
|
3 | วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช | ในเมือง | เมืองนครศรีธรรมราช | นครศรีธรรมราช | 60 | 1. นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งเต้านม
2. นักศึกษามีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 3 นิ้ว 3 สัมผัส สกัดมะเร็งเต้านม และลงทะเบียนผ่าน BSE Application ได้อย่างถูกต้อง
|
4 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (นครศรีธรรมราช) | ที่วัง | ทุ่งสง | นครศรีธรรมราช | 58 | 1. ก่อนการอบรมนักศึกษามีความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 55.17 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่ากับ 7.81 คะแนน (S.D=2.08) แต่ภายหลังเข้ารับการอบรมนักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากจำนวน 35 คน คิดเป็น ร้อยละ 60.34 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่ากับ 11.76 คะแนน (S.D=2.08) (คะแนนเต็ม 15 คะแนน)
2. นักศึกษามีทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองและการใช้ Application BSE ที่ถูกต้อง ร้อยละ 100
3. นักศึกษามีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 (S.D.=0.52)
|
5 | มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา | ช้างซ้าย | พระพรหม | นครศรีธรรมราช | 74 | วัตถุประสงค์:
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ไปถ่ายทอดแก่ภาคีเครือข่ายได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการใช้แอพพลิเคชั่น BSE ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ:
1. นักศึกษา จำนวน 74 คน
2. อาจารย์ จำนวน 6 คน
3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตพื้นที่อำเภอพระพรหม จำนวน 2 คน
กิจกรรม:
1. การบรรยายในหัวข้อ โรคมะเร็งเต้านม
2. การบรรยายในหัวข้อ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
3. การฝึกทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองโดยใช้ชุดตรวจมะเร็งเต้านมจำลอง
4. การเรียนรู้และฝึกทักษะการใช้ Application BSE
ผลการวัดความรู้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการพบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการนักศึกษามีค่าเฉลี่ยความรู้เท่ากับ 7.30 คะแนน (S.D.=1.93) แต่ภายหลังเข้าร่วมโครงการมีค่าเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้น 4.03 คะแนน เป็น 11.33 คะแนน (S.D.=1.90) จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน
นักศึกษามีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 (S.D.=0.71) โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านวิทยากร คือ สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.89 (0.48) รองลงมาคือ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ คือ ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 (0.41)
แสดงผลการฝึกปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเอง พบว่า นักศึกษาทุกคนสามารถปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องจำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และสามารถปฏิบัติการใช้แอพพลิเคชั่น BSE ได้อย่างถูกต้องจำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 100 |
6 | โรงพยาบาลธนบุรี ทุ่งสง | ชะมาย | ทุ่งสง | นครศรีธรรมราช | 50 | สรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ 3.2 อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับพนักงาน
หญิงในสถานประกอบกิจการ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคนไทยวัยทำงานมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สู่สุขภาวะที่ดี และมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11 ปีงบประมาณ 2568
จังหวัดนครศรีธรรมราช
วันที่ 14 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลธนบุรี ทุ่งสง ตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ไปถ่ายทอดแก่ภาคีเครือข่ายได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการใช้แอพพลิเคชั่น BSE ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ:
1. พนักงานหญิงของโรงพยาบาลธนบุรี ทุ่งสง จำนวน 50 คน
2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ จำนวน 4 คน
กิจกรรม:
1. การบรรยายในหัวข้อ โรคมะเร็งเต้านม
2. การบรรยายในหัวข้อ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
3. การฝึกทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองโดยใช้ชุดตรวจมะเร็งเต้านมจำลอง
4. การเรียนรู้และฝึกทักษะการใช้ Application BSE
ผลการดำเนินงาน:
1. ผลการวัดความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการพบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการพนักงานหญิงมีค่าเฉลี่ยความรู้เท่ากับ 8.44 คะแนน (S.D.=1.86) แต่ภายหลังเข้าร่วมโครงการมีค่าเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้น 4.60 คะแนน เป็น 13.04 คะแนน (S.D.=1.55) จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน
2. ผลการฝึกปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเอง พบว่า พนักงานหญิงทุกคนสามารถปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องจำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และสามารถปฏิบัติการใช้แอพพลิเคชั่น BSE ได้อย่างถูกต้องจำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100
|